การประชุมประชาคมท้องถิ่น (ระดับตำบล)
เพื่อทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 1/2566
ในวันอังคารที่ 31 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลากด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้หมู่บ้าน/ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันคิดที่จะพัฒนาและสามารถร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาตำบลของตนเองได้อย่าง ถูกต้อง มีคุณภาพ
2. เพื่อให้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนา มีความต่อเนื่องกัน และเชื่อมโยงสอดคล้องการพัฒนาไปทิศทางเดียวกันลดการซ้ำซ้อนของโครงการ มีการบูรณาการประสานความคิด การปฏิบัติบนฐานข้อมูลร่วมกัน
3. เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมภายใต้หลักประชารัฐ ในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมแก้ไขปัญหาปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับการพัฒนาท้องถิ่น
4. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ อบต.แก่ประชาชนในท้องถิ่น และได้รับความสะดวกในการรับบริการของประชาชนจากหน่วยงานราชการ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เสนอโครงการ เพื่อพิจารณาขออนุมัติจากผู้บริหารท้องถิ่น จัดทำประกาศ กำหนดการจัดอบรมและประชุม เพื่อจัดทำแผนพัฒนาตำบล และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบ
2. แจ้งเพื่อให้สมาชิกสภาฯ , ผู้นำชุมชน,หน่วยงานราชการต่างๆ,พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง ในสังกัดรับทราบในโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
4. ประสานงานกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิก อบต. เพื่อประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวหมู่บ้านเชิญชวนให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้และแสดงความคิดเห็น
5. จัดอบรมและประชุม ตามกำหนดการ โดยแจ้งในที่ประชุมประชาคมได้รับทราบถึง แนวทางการจัดทำแผน วิสัยทัศน์ กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในด้านต่างๆ ของ อบต. และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น เสนอแนะสภาพปัญหา ความต้องการ ตลอดจนโครงการพัฒนาในแผนชุมชนที่เกินศักยภาพ และลงมติเห็นชอบ เพื่อพิจารณาบรรจุลงในร่างแผนพัฒนาตำบลและร่างแผนพัฒนาท้องถิ่น (แก้ไขเพิ่มเติม)
6. สรุปและรายงานผลการจัดทำโครงการเสนอต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
กลุ่มเป้าหมาย
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลากด, กำนันตำบลบางปลากด, ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน, เรียน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบน, ผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่ตำบลบางปลากด, เรียน หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2, อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 - หมู่ที่ 11 และอาสาสมัคร เรียน ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 7, หมู่ที่ 8, หมู่ที่ 10 และประชาชนทั่วไป จำนวน 50 คน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. รับทราบปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านทานได้อย่างแท้จริง
2. องค์การบริหารส่วนตำบล มีแผนพัฒนาตำบลและแผนพัฒนาท้องถิ่นไว้ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีทิศทาง เป้าหมายพัฒนาที่ชัดเจน และถูกต้องเป็นไปตามระเบียบฯสามารถนำไปจัดทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้
3. ประชาชนในชุมชนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถแก้ไขปัญหา อุปสรรคภายใต้ข้อจำกัดที่มีในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|